บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก กุมภาพันธ์, 2020

"หน้ากากอนามัย" ป้องกันเชื้อ "โควิด-19" ได้หรือไม่ ?

รูปภาพ
เชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ หรือ  โควิด-19  เป็นเชื้อไวรัสที่สามารถแพร่กระจายไปสู่คนอื่นได้ แม้จะยังอยู่ในช่วงฟักตัวก็ตาม หมายความว่าผู้ที่ไม่แสดงอาการก็สามารถแพร่เชื้อให้กับผู้อื่นได้ ดังนั้นเราควรสวมใส่หน้ากากอนามัย เพื่อป้องกันเชื้อไวรัสชนิดนี้ แต่ การสวมใส่ หน้ากากอนามัย ป้องกันเชื้อโควิด-19 ได้เหมือนป้องกันไข้หวัดหรือไม่ หากใครที่กำลังมีข้อสงสัย วันนี้ Hello คุณหมอ มีข้อมูลเกี่ยวกับการสวมใส่หน้ากากอนามัยเพื่อป้องกันเชื้อโควิด-19 มาฝากกันค่ะ การแพร่กระจายของเชื้อโควิด-19 เชื้อไวรัสโคโรนาที่กำลังแพร่กระจายอยู่ในขณะนี้ เป็นไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ ที่ใช้ชื่อว่าโควิด-19 (COVID-19) ซึ่งโดยทั่วไปแล้วเชื้อ โควิด-19 จะมีการแพร่กระจายจากคนสู่คน ผ่านทางระบบทางเดินหายใจ เมื่อผู้ที่ติดเชื้อไวรัส มีการไอหรือจาม แล้วเกิดเป็นละอองกระจายไปยังผู้อื่น ซึ่งอาจจะติดที่ใบหน้า ริมฝีปาก หรืออาจจะมีการหายใจเข้าไป ซึ่งหากอยู่ภายในรัศมีระยะ 6 ฟุตก็มีโอกาสที่จะติดเชื้อได้ง่าย นอกจากนี้แล้ว ยังมีการติดเชื้อไวรัสจากการสัมผัสพื้นผิวหรือวัตถุที่มีเชื้อ โควิด-19 ได้ด้วย โดยการสัมผัสกับวัตถุเหล่านั้

สรุปทุกเรื่อง “ไวรัสโคโรนา” หรือ “โควิด-19” คืออะไร ? อาการเป็นอย่างไร ?

สถานการณ์ของโรคระบาดที่มีชื่ออยู่โลกออนไลน์ตลอดทุกวัน และยังไม่มีทีท่าว่าจะดีขึ้นอย่าง “ไวรัสโคโรนา” หรือ “โควิด-19” ทำให้ใครหลายคนเป็นกังวล และคอยติดตามข่าวสารกันอยู่ตลอดถึงจำนวนผู้ติดเชื้อ อัตราการเสียชีวิต รวมไปถึงการป้องกันตัวเองให้รอดพ้นจากการติดเชื้ออันตรายนี้ มีเรื่องอะไรที่เราควรรู้เกี่ยวกับ ไวรัสโคโรนา หรือไวรัสโควิด-19 บ้าง ชวนมาไล่ดูไปทีละข้อพร้อม ๆ กันเลยดีกว่า ไวรัสโคโรนา หรือไควิด-19 คืออะไร ? ไวัรสโคโรนา (Coronavirus) เป็นไวรัสที่ถูกพบครั้งแรกในปี 1960 แต่ยังไม่ทราบแหล่งที่มาอย่างชัดเจนว่ามาจากที่ใด แต่เป็นไวรัสที่สามารถติดเชื้อได้ทั้งในมนุษย์และสัตว์ ปัจจุบันมีการค้นพบไวรัสสายพันธุ์นี้แล้วทั้งหมด 6 สายพันธุ์ ส่วนสายพันธุ์ที่กำลังแพร่ระบาดหนักทั่วโลกตอนนี้เป็นสายพันธุ์ที่ยังไม่เคยพบมาก่อน คือ สายพันธุ์ที่ 7 จึงถูกเรียกว่าเป็น “ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่” และในภายหลังถูกตั้งชื่ออย่างเป็นทางการว่า “โควิด-19” (COVID-19) นั่นเอง ดังนั้น ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ และไวรัสโควิด-19 จึงหมายถึงไวรัสชนิดเดียวกัน ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ หรือไวรัสโควิด-19 มาจากไหน ? ไวรัสโค

"ริดสีดวง" อาหารที่ควรกิน-ควรหลีกเลี่ยง มีอะไรบ้าง

โรคริดสีดวง คืออาการบวมของหลอดเลือดบริเวณทวารหนัก และมักจะทำให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับระบบการขับถ่าย หลายคนอาจจะต้องรู้สึกทรมานกับอาการปวด เลือดไหล และอาการคันอย่างรุนแรงที่เกิดจากโรคนี้ ยิ่งโดยเฉพาะเวลาขับถ่าย แต่โชคดีที่โรคนี้สามารถบรรเทาได้ โดยการเลือกรับประทานอาหารที่เหมาะสม บทความนี้จะทำให้ทุกคนได้รู้ว่า เป็นโรคริดสีดวง ควรกินและควรหลีกเลี่ยง อาหาร อะไร เป็นโรคริดสีดวง การเลือกรับประทาน อาหาร สำคัญอย่างไร โรคริดสีดวงนั้น เป็นโรคที่เกิดจากการเพิ่มขึ้นของ ความดัน ภายในช่วงลำไส้ตรงส่วนล่าง  ความดัน ที่เพิ่มขึ้นนี้อาจจะมีสามารถมาจาก การเบ่งอุจจาระแรงเกินไป การนั่งแช่เป็นเวลานาน ๆ ในห้องน้ำ อาการท้องผูกหรือท้องเสียเรื้อรัง การมีภาวะน้ำหนักเกิน การตั้งครรภ์ การมีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนัก การยกของหนักเป็นประจำ การรับประทานอาหารที่มีใยอาหารน้อย ใยอาหารนั้นเป็นปัจจัยสำคัญในการรักษาและป้องกันโรค ริดสีดวงทวาร  เนื่องจากใยอาหารมีส่วนช่วยทำให้อุจจาระนิ่มขึ้น ทำให้ง่ายต่อการขับถ่าย ไม่ต้องออกแรงเบ่งอุจจาระมาก ทั้งยังไม่ทำให้เกิดอาการท้องผูก ทำให้ไม่จำเป็นต้องนั่งแช่อยู่ในห้องน้ำเป็นเวล

ที่มาและความหมายของคำว่า "สลิ่ม" ศัพท์การเมืองที่หลายคนรู้จัก

รูปภาพ
เราเชื่อว่าคงไม่มีใครที่ไม่รู้จักศัพท์ทางการเมืองอย่างคำว่า  สลิ่ม  กันอย่างแน่นอน ด้วยความหมายและการใช้ที่เอาไว้เรียกผู้ที่มีมุมมองทางการเมืองอย่างชัดเจนนั่นเอง แต่เพื่อนๆ เคยสงสัยกันไหมว่า คำว่า  สลิ่ม  นั้นมาจากไหน แล้วมีความเกี่ยวข้องอะไรกับขนมไทย  ซ่าหริ่ม ซ่าหริ่ม   ซ่าหริ่ม เป็นขนมไทยประเภทหนึ่งมีลักษณะเป็นเส้นที่มักมีหลายสีและรับประทานกับน้ำกะทิโดยมีรสชาติหอมมันและมีกลิ่นใบเตยอีกด้วย  ซ่าหริ่ม มีขายอยู่ตามตลาดทั่วไปในประเทศไทยและเป็นที่นิยมเป็นอย่างมาก มักรับประทานโดยเติมน้ำเชื่อมและน้ำแข็ง ส่วนผสมสำคัญของซ่าหริ่มจะมีแป้งถั่วเขียว น้ำลอย ดอกมะลิ  น้ำตาลทราย น้ำใบเตยคั้น และน้ำกะทิ ที่มาและความหมายของคำว่า "สลิ่ม" ศัพท์การเมืองที่หลายคนรู้จัก   ในช่วงวิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2548-2553 ได้มีการเปรียบเทียบกลุ่มเสื้อหลากสีเป็นซ่าหริ่มเพราะซ่าหริ่มมีหลายสี โดยใช้คำว่า "สลิ่ม" ที่มาและบริบทความหมาย ช่วงต้นปี 2553 มีการชุมนุมทางการเมืองของคนเสื้อแดงที่เรียกร้องให้รัฐบาลอภิสิทธิ์ในขณะนั้นยุบสภา ข้อเรียกร้องดังกล่าวได้ก่อให้เกิดกระแสต่อต้านคนเสื้อแดงอย

10 สถานที่เสี่ยงควรหลีกเลี่ยง ช่วง “โควิด-19” ระบาด

รูปภาพ
ในช่วงการระบาดของเชื้อไวรัส  “ โควิด-19 ” (COVID-19)  ระบาด การหลีกเลี่ยงสถานที่ที่มีคนอยู่รวมกันมาก ๆ จะช่วยลดความเสี่ยงของการติดเชื้อลงได้ เพราะสถานที่ที่มีคนรวมกันอยู่มาก ๆ จะเป็นมีความเสี่ยงสูงที่จะมีการแพร่กระจายเชื้อไวรัสจากคนสู่คนได้ง่ายขึ้น การระมัดระวังความสะอาดหลังไอ จาม เอาละอองน้ำลายออกมาฟุ้งกระจายในอากาศก็ควบคุมได้ยากเช่นกัน 10 สถานที่เสี่ยงควรหลีกเลี่ยง ช่วง “โควิด-19” ระบาด     สถานที่ราชการ และสถานที่ทำงาน เป็นสถานที่ที่มีการติดเชื้อกันได้ง่ายเพราะมีคนเยอะ และต้องใช้เวลาในสถานที่นั้นเป็นเวลานาน ไม่สามารถหลีกเลี่ยงที่จะไม่ไปได้ แต่สามารถลดความเสี่ยงในการติดเชื้อได้โดย ทำความสะอาดบริเวณที่สัมผัสบ่อย ๆ อย่างสม่ำเสมอ เช่น โต๊ะทำงาน คอมพิวเตอร์ เมาส์ คีย์บอร์ด อุปกรณ์ที่ใช้ในการทำงาน ที่จับประตู ห้องสุขา เป็นต้น     รถแท็กซี่ รถตู้โดยสาร รถจักรยานยนต์รับจ้าง ควรสวมหน้ากากอนามัยทุกครั้งที่ขึ้นรถ รวมถึงคนขับรถด้วย ควรล้างมือหรือใช้เจลล้างมือหลังจากสัมผัสเงิน จับที่เปิดประตู เบาะนั่ง คนขับรถก็ควรทำความสะอาดหลังมีการให้บริการอยู่เรื่อย ๆ ตลอดวัน เน้นบริเวณพื้

“น้ำตาล” ในเครื่องดื่ม “หวาน” แค่ไหนถึงจะไม่เสี่ยง “เบาหวาน-อ้วน”

รูปภาพ
เมื่อชีวิตติด หวาน  น้ำหนักเกินาตรฐานเอย พุงย้อย ๆ ขาใหญ่ ๆ เอย และโรคต่าง ๆ เช่น โรคอ้วน  เบาหวาน  และอื่น ๆ ก็ค่อย ๆ ทยอยตามมา แต่เมื่อเราหลงรักเครื่องดื่มอร่อย ๆ จนอาจเรียกได้ว่าไม่มีเธอไม่ได้ ขาดเธอเหมือนขาดใจ เราจะเลือกเครื่องดื่มอย่างไรให้ไม่อันตรายกับร่างกายในอนาคต ทำไมเราต้อง “ลดหวาน” ในเครื่องดื่ม ? พญ.พรรณพิมล วิปุสากร อธิบดีกรมอนามัย ระบุว่า โดยเฉลี่ยในแต่ละวัน คนไทยดื่มเครื่องดื่มที่ผสมน้ำตาลเฉลี่ยกว่า 3 แก้ว หรือ 519.3 มิลลิลิตร ผู้ชายดื่มมากกว่าผู้หญิง และพบว่าในกลุ่มเด็กอายุ 6-14 ปี เป็น กลุ่มที่ดื่มเครื่องดื่มที่ผสมน้ำตาลเฉลี่ยต่อสัปดาห์มากที่สุด นอกจากนี้เครื่องดื่มที่ผสมน้ำตาลที่วางจำหน่ายในประเทศไทย พบมีปริมาณน้ำตาลสูงมาก เฉลี่ย 9-19 กรัม/100มิลลิลิตร ในขณะที่ปริมาณที่เหมาะสม คือ ไม่ควรมีน้ำตาลมากกว่า 6 กรัม ต่อ 100 มิลลิลิตร เพราะจะเพิ่มโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคอ้วน และโรคติดต่อเรื้อรังได้ในระยะยาว เช่น  เบาหวาน  หัวใจและหลอดเลือด และฟันผุ เป็นต้น กินผัก ลดเสี่ยงฟันผุ ทันตแพทย์หญิงปิยะดา ประเสิรฐสม ผู้อำนวยการสำนักทันตสาธารณสุข กล่าวว่า น้ำตาลเป็นแหล่งอ

กาแฟไม่มีคาเฟอีน (Decaf Coffee) ดีต่อสุขภาพจริงหรือ

โดยปกติแล้วทุกคนคงเคยชินกับการดื่ม กาแฟ ที่มีส่วนผสมของคาเฟอีน แต่ความจริงแล้วตอนนี้มี กาแฟไม่มีคาเฟอีน เกิดขึ้นมาแล้ว แต่บางคนอาจจะยังมีข้อสงสัยว่า กาแฟไม่มีคาเฟอีนนั้นแตกต่างจากกาเฟที่มีส่วนผสมของคาเฟอีนอย่างไร แล้วมันดี สุขภาพ จริงหรือเปล่า กาแฟไม่มีคาเฟอีนคืออะไร ? กาแฟไม่มีคาเฟอีน มีชื่อภาษาอังกฤษว่า Decaf Coffee หรือชื่อเต็มๆ ว่า Decaffeinated coffee เป็นกาแฟที่มาจากเมล็ดกาแฟที่ถูกเอาคาเฟอีนออกอย่างน้อย 97% ซึ่งวิธีการเอาคาเฟอีนออกจากเมล็ดกาแฟนั้นมีด้วยกันหลายวิธี ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้น้ในการทำละลายอินทรีย์หรือคาร์บอนไดออกไซด์ เมล็ดกาแฟจะถูกล้างในตัวทำละลายจนกว่าคาเฟอีนจะสกัดออกไปแล้วจึงนำตัวทำละลายออกไป คาเฟอีนสามารถสกัดออกได้โดยการใช้คาร์บอนไดออกไซด์หรือตัวกรองถ่าน ซึ่งวิธีการนี้เรียกว่า กระบวนการน้ำของสวิส (Swiss Water Process) เมล็ดกาแฟจูกนำไปสกัดเอาคาเฟอีนออกก่อนที่จะถูกนำไปคั่วและบด คุณค่าของกาแฟไม่มีคาเฟอีนจะใกล้เคียงกับกาแฟทั่วไป ต่างกันเพียงปริมาณคาเฟอีนเท่านั้น แต่อย่างไรก็ตาม รสชาติและกลิ่นอาจจะรุนแรงขึ้นเล็กน้อย รวมถึงสีอาจจะเปลี่ยนไปด้วย ขึ้นอยู่กับวิธีการนำเอาไปใ

สาเหตุของการเกิด “พฤติกรรมความรุนแรง”

พฤติกรรมความรุนแรง แสดงออกถึงความก้าวร้าว เช่น ด่าทอเสียดสี ทำร้ายร่างกาย รวมไปถึงการก่ออาชญากรรม อาจไม่ใช่อาการทางจิตเวชเสมอไป ขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงของพฤติกรรมส่วนบุคคล ต้องพิจารณาหลายด้านประกอบกัน แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นพฤติกรรมความรุนแรงบางประเภทก็มีสาเหตุมาจากอาการทางจิตเวชได้ พฤติกรรมความรุนแรง  มีสาเหตุมาจากอะไร ภาวะทางอารมณ์ เกิดจากการถูกกดดัน หรือถูกรบกวนทางอารมณ์ ทำให้เกิดภาวะโกรธ หงุดหงิด บางรายอาจแสดงพฤติกรรมความรุนแรงออกมาได้ ซึ่งพฤติกรรมที่เกิดจากสาเหตุนี้ มักมีเป็นครั้งคราวไม่ใช่ทุกครั้ง และการแสดงออกไม่ถึงขั้นทำร้ายร่างกายผู้อื่น จึงไม่เป็นอันตราย สามารถเกิดได้กับคนทั่วไปไม่จำเป็นต้องป่วยเป็นโรค โรคทางจิตเวช ผู้ป่วยทางจิตเวชบางรายอาจแสดงพฤติกรรมความรุนแรงออกมาได้ในบางกรณี อาจมีสาเหตุมาจากการขาดยา ทำให้มีอาการหวาดระแวง ประสาทหลอน หรือในบางรายมีปัญหาทางด้านอารมณ์บางอย่าง เช่น อารมณ์หงุดหงิด อารมณ์ซึมเศร้า หากมีอาการมาก ๆ อาจส่งผลให้เกิดพฤติกรรมรุนแรงได้ รวมถึงโรคสมาธิสั้น ที่อาจทำให้หงุดหงิด และยับยั้งชั่งใจได้ยาก จึงแสดงออกในรูปแบบของพฤติกรรมความรุนแรง แต่ทั้งนี้

"เข้าป่า-กางเต็นท์" เสี่ยงป่วย "ไข้รากสาดใหญ่"

รูปภาพ
กรมควบคุมโรค เตือนนักท่องเที่ยวเข้าป่ากางเต็นท์สัมผัสอากาศหนาว ระวังถูกตัวไรอ่อนกัด เสี่ยงป่วยด้วยโรคไข้รากสาดใหญ่ นายแพทย์อัษฎางค์ รวยอาจิน รองอธิบดีและโฆษกกรมควบคุมโรค กล่าวว่า ในช่วงนี้สภาพอากาศกลับมาหนาวเย็นอีกครั้ง ทำให้อุณภูมิลดลงอย่างต่อเนื่อง และจากรายงานของกรมอุตุนิยมวิทยา ที่ว่าทางตอนบนของประเทศจะมีอากาศหนาวเย็น กับมีลมแรง โดยเฉพาะภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งพื้นที่ดังกล่าวส่วนใหญ่เป็นภูเขาสูง และป่าไม้ จึงขอเตือนนักท่องเที่ยวที่เดินทางรับลมหนาวและกางเต็นท์นอนในป่า ระวังถูก “ตัวไรอ่อน” กัดได้ ทำให้เสี่ยงป่วยด้วยโรคไข้รากสาดใหญ่ ข้อมูลจากกองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 10 กุมภาพันธ์ 2563 มีรายงาน พบผู้ป่วยโรคไข้รากสาดใหญ่ 445 ราย ไม่พบผู้เสียชีวิต ภาคที่มีจำนวนผู้ป่วยสูงสุด คือ ภาคเหนือ  (จำนวน 227 คน คิดเป็นร้อยละ 51) ส่วนจังหวัดที่มีอัตราป่วยสูงสุด 5 อันดับแรก คือ ระนอง น่าน แม่ฮ่องสอน เชียงราย สุราษฎร์ธานี ตามลำดับ โรคไข้รากสาดใหญ่ คืออะไร ? “โรคไข้รากสาดใหญ่”  หรือ  “โรคสครับไทฟัส”  (Scrub typhus) เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียชนิดหน

ท้องอืด-ปวดท้องหลังกินข้าว สัญญาณอันตราย “มะเร็งกระเพาะอาหาร”

รูปภาพ
รู้หรือไม่ว่า “ มะเร็ง กระเพาะอาหาร”   (Stomach Cancer หรือ Gastric Cancer)  เป็น มะเร็ง ที่ติดอันดับ 1 ใน 10 ของมะเร็งที่คนไทยเป็นกันมากที่สุด และจากข้อมูลขององค์การอนามัยโลก (GLOBOCAN) ในปี 2018 ยังระบุว่า  มะเร็งกระเพาะอาหาร เป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 3 ของการเสียชีวิตจากโรคมะเร็งทั้งหมดทั่วโลก และยังมีอุบัติการณ์เป็นอันดับที่ 5 ของ โรคมะเร็ง ทั้งหมดอีกด้วย แต่สิ่งที่น่ากลัวที่สุดของโรคนี้คือ อาการในระยะแรกเริ่ม ซึ่งจะดูเป็นอาการที่พบได้บ่อย ๆ และไม่รุนแรง เช่น ท้องอืด เรอบ่อย แสบร้อนกลางอก ปวดท้อง แน่นท้อง คลื่นไส้ ไม่อยากอาหาร เป็นต้น และเมื่อระยะของโรคมีการพัฒนามากขึ้น อาจทำให้รู้สึกไม่สบายท้อง โดยเฉพาะช่องท้องบริเวณส่วนบนและตรงกลาง มีเลือดปนอุจจาระ อาเจียนเป็นเลือด น้ำหนักลด อ่อนเพลีย หรืออาจมีลักษณะคล้ายกับอาการของโรคอื่นๆ เช่น โรคแผลในกระเพาะอาหาร ไวรัสลงกระเพาะอาหาร ซึ่งอาจทำให้มองข้ามสัญญาณเตือนเหล่านี้ไป ด้วยเข้าใจว่าเป็นอาการของโรคอื่น  สาเหตุโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งกระเพาะอาหารมีหลายลักษณะ ทั้งเนื้อร้ายที่เกิดขึ้นในเยื่อบุกระเพาะอาหาร มะเร็งต่อมน้ำเหลืองข