บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก เมษายน, 2020

"ผ้าเช็ดตัว" แหล่งสะสมเชื้อโรคใกล้ตัว ที่หลายคนมักจะมองข้าม

รูปภาพ
เมื่อเราอยากชะล้างความสกปรกที่ติดตัว เราก็สามารถทำได้ง่ายๆ ด้วยการอาบน้ำชำระคราบสิ่งสกปรกต่างๆ จนสะอาดเอี่ยมทั่วตัว ก่อนจะเช็ดตัวให้แห้งด้วย ผ้าเช็ดตัว  แต่หลายคนอาจจะไม่ทันได้ฉุกคิดว่า ผ้าเช็ดตัว อาจจะเป็นแหล่งสะสมเชื้อโรคใกล้ตัว ที่เราทุกคนมองข้าม และทำให้เชื้อโรคกลับมาสู่ร่างกายของเราที่คิดว่าสะอาดปลอดภัยแล้วก็เป็นได้ ผ้าเช็ดตัว แหล่งสะสมเชื้อโรคใกล้ตัว ผ้าเช็ดตัวเป็นไอเท็มสำคัญติดบ้านที่ไม่ว่าใครก็ต้องมี เราจะใช้ผ้าเช็ดตัวในการซับน้ำและความชื้นที่หลงเหลืออยู่จากการอาบน้ำชำระคราบสิ่งสกปรกต่างๆ แต่ผ้าเช็ดตัวนั้นไม่ได้ซึมซับเพียงแค่น้ำและความชื้น แต่ยังได้เซลล์ผิวหนังชั้นนอกที่ตายแล้ว และเชื้อแบคทีเรียที่ติดอยู่ที่ผิวหนังของเราไปด้วย เมื่อเชื้อแบคทีเรียนั้นได้เกาะอยู่กับผ้าที่มีความชื้นอย่างพอเหมาะอย่างผ้าเช็ดตัว ก็จะยิ่งสามารถบ่มเพาะเชื้อเพิ่มประชากร ให้กลายเป็นแหล่งสะสมเชื้อโรคไปได้ในที่สุด หรือบางคนอาจจะได้รับเชื้อไวรัสมาจากข้างนอก และมาติดอยู่ที่ผ้าเช็ดตัวในตอนที่เช็ดทำความสะอาดตัว ยิ่งไปกว่านั้น ความอับชื้นยังเป็นปัจจัยชั้นดีในการเจริญเติบโตของเชื้อราต่างๆ ดังนั้น ผ...

วิธีลดเครียด-ลดเหงา เมื่อต้อง Work From Home นานๆ

ใครที่อายุไล่เลี่ยกันคงจะเคยได้ยินประโยคนี้ เพราะเป็นชื่อเพลงสากลเพราะๆ เพลงหนึ่งของ David Usher ศิลปินเชื้อสายอังกฤษ-ไทยที่โด่งดังช่วงยุค ‘90s-2000s แต่ในที่นี้เราไม่ได้พูดถึงเพลง แต่เป็นความรู้สึกเหงาราวกับตัวเองอยู่ในจักรวาลนี้อยู่ตัวคนเดียว และนี้อาจเป็นความรู้สึกของใครหลายคนที่กำลังประสบอยู่ในช่วงที่ต้อง  Work From Home , Social Distancing หรือกำลังกักตัว (Quarantine) อยู่ แต่คนที่เขา alone in the universe มีอยู่จริงๆ และนั่นคือนักบินอวกาศของนาซ่าที่ต้องทำงานท่ามกลางดวงดาวอยู่นอกโลกเป็นปีๆ พวกเขามีวิธีจัดการกับอารมณ์ว้าเหว่ของตัวเองที่ต้องอยู่คนเดียวนานๆ ขนาดนั้นโดยที่ สุขภาพ จิตไม่เสียได้อย่างไร มาดูเคล็ดลับที่เขาแนะนำผ่านคลิปของ QuickTake by Bloomberg กัน วิธีลดเครียด-ลดเหงา เมื่อต้องอยู่ตัวคนเดียวนานๆ ทำตัวให้ยุ่งตลอดเวลา เมื่อไรที่เราว่างๆ ไม่มีอะไรทำ เวลานั้นจะทำให้เรารู้สึกเหงา จมอยู่กับความรู้สึกโดดเดี่ยวของตัวเอง แนะนำว่าให้ทำตัวยุ่งตลอดเวลา หาอะไรมาทำเรื่อยๆ โดยสามารถวางแผนงานเอาไว้ทั้งวันเลยก็ได้ว่า ช่วงเช้าถึงบ่ายทำงาน ช่วงเย็นทำอาหาร หัวค่ำ อ...

ฉีดพ่นฆ่าเชื้อ "โควิด-19" บนร่างกาย-ถนน ป้องกันไวรัสได้จริงหรือ?

สมาคมโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทยชี้แจงเรื่อง การฉีดพ่นยาฆ่าเชื้อลงบนตัวบุคคลหรือสถานที่ เพื่อฆ่าเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ  โควิด -19 ( COVID -19) เอาไว้ดังนี้ ในขณะนี้ประเทศไทยมีผู้ป่วย โควิด-19  ต่อเนื่องกันมาเป็นระยะเวลานานพอสมควร ด้วยความกังวลเรื่องของการ ปนเปื้อนเชื้อในสถานที่สาธารณะต่างๆ และที่พักอาศัย ตลอดจนในร่างกายของผู้ป่วย จึงเกิดการปฏิบัติที่หลากหลายด้วย ความเข้าใจคลาดเคลื่อนว่าจะช่วยทำลายเชื้อ หรือลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ เช่น การฉีดพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อบนร่างกายของ บุคคลทั่วไป ทั้งในลักษณะของการสร้างอุโมงค์ให้เดินผ่านหรือเดินผ่านไปตามทางเดินปกติการฉีดพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อบนถนนหรือ สถานที่สาธารณะต่างๆ ตลอดจนภายในอาคารบ้านเรือนที่พักอาศัยหรือร้านค้า ทางสมาคมโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทย ขอเรียนชี้แจง ดังนี้ การฉีดพ่นทําลายเชื้อ โควิด-19  บนร่างกายของบุคคล  การฉีดพ่นทําลายเชื้อบนร่างกายของบุคคล ไม่ช่วยเพิ่มความปลอดภัยต่อการติดเชื้อ เนื่องจากหากบุคคลมีเชื้อไวรัสอยู่ เชื้อจะอยู่ที่ทางเดินหายใจ ซึ่งการพ่นยาฆ่าเชื้อในลักษณะดังกล่าว จะไม่สามารถทำลายเชื้อได้นอกจากนี้ยาฆ่...

อันตรายจาก "ยาคลอโรควิน" รักษา "โควิด-19" ได้จริงหรือ?

ชื่อของยา “คลอโรควิน” เริ่มเป็นที่รู้จักมากขึ้น เมื่อปรากฏเป็นชื่อของยาที่แพทย์ใช้รักษาผู้ป่วย โควิด -19 จึงทำให้บางคนตามหายาตัวนี้มารับประทานเอง ด้วยเชื่อว่าจะช่วยรักษา และป้องกัน โควิด-19  ได้ด้วยตัวเอง แต่จริงๆ แล้วยาคลอโรควินสามารถหาซื้อมากินเองได้หรือไม่ แล้วสามารถรักษา หรือป้องกัน โควิด-19  ได้จริงหรือเปล่า  มีคำตอบจาก ผศ.นพ.พิสนธิ์ จงตระกูล โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย มาฝาก ยาคลอโรควิน คืออะไร? ยาคลอโรควิน เป็นยาที่ใช้รักษาโรคต่างๆ หลายโรค เช่น การป้องกัน และรักษาโรคมาลาเรีย การรักษาโรคติดเชื้ออะมีบา หรือการรักษาโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ ซึ่งในปัจจุบันแพทย์ได้นำมาทดลองใช้รักษาโรค โควิด -19 โดยใช้ร่วมกับยาอื่นอีกหลายชนิด ยาคลอโรควิน รักษา โควิด-19  ได้จริงหรือไม่? ยาคลอโรควิน รวมถึงยาไฮดรอกซีคลอโรควิน เป็นยาที่แพทย์นำมาทดลองใช้รักษาโรคโควิด-19 การใช้ยาดังกล่าวแพทย์จะใช้ร่วมกับยาอื่นเสมอ เช่น ยาต้านไวรัสเอชไอวี ยาฟาวิพิราเวียร์ ซึ่งการใช้ยาเหล่านี้ต้องอยู่ในการดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด เนื่องจากมีอันตรายร้ายแรงที่อาจทำให้พิการ หรือเสียชีวิ...

"เด็ก" อายุเท่าไรถึงควรใส่ "หน้ากากอนามัย-หน้ากากผ้า" ป้องกัน "โควิด-19"

ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคระบาดของสหรัฐอเมริกา (CDC) ให้คำแนะนำในการให้เด็กเล็กใส่หน้ากากผ้า-หน้ากากอนามัย เพื่อป้องกันเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ  โควิด -19 ( COVID -19) ถึงช่วงอายุที่เหมาะสม และไม่เหมาะสมในการใส่หน้ากาก รวมถึงวิธีลดความเสี่ยงในเด็กเล็กเกินไปที่ไม่สามารถสวมหน้ากากอนามัยได้ เด็กอายุเท่าไร ถึงสามารถใส่หน้ากากได้ ไม่ว่าจะเป็นหน้ากากผ้า และหน้ากากอนามัย มีคำแนะนำว่าไม่ควรสวมให้กับเด็กแรกเกิด เพราะทารกแรกเกิดหายใจทางจมูกเป็นหลัก ยังไม่มีความสามารถในการหายใจชดเชยด้วยการอ้าปากหายใจได้เมื่อมีการขาดอากาศ หรือ ออกซิเจน ดังนั้นวัสดุต่างๆ ที่นำมาผลิตเป็นหน้ากาก หากมีคุณสมบัติในการต้านต่อการไหลของอากาศเข้า-ออกสูงเกินไป อาจทำให้ทารกหายใจได้ไม่เพียงพอ และมีโอกาสเกิดการสะสมของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ เกิดอันตรายต่อระบบประสาทของทารกได้ เด็กที่เริ่มสามารถใส่หน้ากากได้ เริ่มที่อายุ 2 ขวบขึ้นไป นอกจากจะสามารถหายใจทางปากได้เองแล้ว ยังสามารถดึงหน้ากากออกจากหน้าเองได้ด้วย จึงปลอดภัยในการสวมใส่มากกว่า ในกรณีที่หน้ากากไม่พอดีหน้า หรือปิดจมูกปิดปากมากเกินไป หน้ากากสำหรับเด...

แพทย์ย้ำ "เครื่องดื่มแอลกอฮอล์" ฆ่าเชื้อ ”โควิด-19″ ไม่ได้

แพทย์ย้ำการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ไม่สามารถฆ่าเชื้อ โควิด -19 อีกทั้งยังมีอันตรายถึงขั้นเสียชีวิต นายแพทย์สรายุทธ์ บุญชัยพานิชวัฒนา ผู้อำนวยการสถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี กล่าวว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อ ไวรัสโคโรนา 2019  หรือ   โควิด-19  ( COVID -19)  ทำให้ประชาชนหวาดกลัวและพยายามหาวิธีการป้องกันตนเองจากการติดเชื้อ ไม่ว่าจะเป็นการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การดื่มแอลกอฮอล์บริสุทธิ์ หรือเอทิลแอลกอฮอล์ ซึ่งเป็นเป็นความเชื่อที่ไม่ถูกต้องและอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้ โดยเอทิลแอลกอฮอล์ หรือเอทานอล (Ethyl Alcohol หรือ Ethanol) เป็นแอลกอฮอล์บริสุทธิ์ 95% ผลิตจากพืชประเภทน้ำตาลและพืชจำพวกแป้งเช่นเดียวกันกับแอลกอฮอล์ที่ผสมในเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ถึงแม้จะเป็นชนิดของแอลกอฮอล์ที่สามารถรับประทานได้ แต่ด้วยความเข้มข้นที่สูงกว่าในเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทั่วไป ทำให้ผู้ดื่มมีภาวะแอลกอฮอล์เป็นพิษและในบางรายรุนแรงอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ จึงเหมาะสำหรับทำความสะอาด เช็ด ถู เพื่อฆ่าเชื้อ เอทานอลสำหรับล้างแผล-ในเจลล้างมือ กินไม่ได้ เอทานอลสำ...

จิตแพทย์แนะวิธีลดเครียดช่วง "โควิด-19" ระบาด ไม่ให้ป่วยทั้งกายและใจ

ท่ามกลางสถานการณ์ โควิด -19 ทั้งแพทย์ พยาบาล บุคลากรทางการแพทย์ ผู้ป่วย และประชาชนทุกคนล้วนมีความเครียดและความกังวลใจ มาดูสักนิดว่า เราจะช่วยกันรับมือ ดูแลจิตใจ และผ่านวิกฤตินี้ไปด้วยกันได้อย่างไร การจัดการความเครียดเพื่อรับมือ โควิด-19  อย่างถูกวิธีที่จิตแพทย์อยากแนะนำ  แพทย์หญิงอภิสมัย ศรีรังสรรค์ ผู้อำนวยการศูนย์จิตรักษ์​ โรงพยาบาลกรุงเทพ กล่าวว่าความเครียดเป็นกลไกโดยธรรมชาติที่ช่วยให้มนุษย์เตรียมตัววางแผนและรับมือกับสถานการณ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพการที่เรารู้สึกเครียดกลัว วิตกกังวล เป็นสิ่งที่ดี เพราะเราจะได้ขวนขวายหาความรู้ หาข้อมูลมาประกอบการตัดสินใจ ให้มีการวางแผนและเตรียมการ รับมือกับโรคระบาดที่เกิดขึ้น ลองสังเกตอาการของตัวเองในสถานการณ์ โควิด-19  CDC สหรัฐฯ แนะนำให้สังเกตอาการ ว่ามีดังต่อไปนี้หรือไม่ อาทิ อารมณ์แปรปรวน กลัว เครียด กังวล หงุดหงิดง่าย นอนไม่หลับหรือหลับไม่สนิทฝันร้ายต่อเนื่องเรื้อรัง พฤติกรรมการกินผิดปกติ บางรายกินไม่ลง บางรายกินมากผิดปกติ รู้สึกไม่กระปรี้กระเปร่า ไม่สดชื่น เฉื่อยชาเบื่อ ไม่อยากทำอะไร สมาธิจดจ่อไม่ดี หลงๆ ลืมๆ ทำงานบก...

อาการ “ลงแดง” คืออะไร อันตรายแค่ไหน พร้อมวิธีรักษา

คนที่ดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ ถ้าจู่ๆ ก็หยุดดื่มทันที อาจมีอาการ “ลงแดง” ได้ โดยอาจมีอาการตั้งแต่ปวดศีรษะ มือสั่น นอนไม่หลับ กระสับกระส่าย หงุดหงิด ไปจนถึงเห็นภาพหลอน หรือชักได้ ทำความรู้จัก อาการ “ลงแดง” อาการลงแดง หรือภาษาทางการในทางการแพทย์เรียกว่า อาการเนื่องจากการขาดสุรา (alcohol withdrawal syndrome) เกิดขึ้นในผู้ที่หยุดดื่มหรือลดการดื่มสุราลงกะทันหัน หลังจากที่ดื่มติดต่อกันมานาน เป็นระยะเวลาหนึ่ง (เทียบได้กับการดื่มวิสกี้ปริมาณ 16 ออนซ์ หรือ 2/3 ขวดต่อวันติดต่อกันเป็นเวลานาน 14-21 วัน) อาการลงแดง (alcohol withdrawal) มีอะไรบ้าง อาการที่พบได้ในระยะแรก ได้แก่ ตัวสั่น มือสั่น หงุดหงิด คลื่นไส้ อาเจียน ซึ่งอาจเกิดขึ้นหลังจากหยุดดื่มไปได้เพียงไม่กี่ชั่วโมง และเห็นอาการชัดในเช้าวันรุ่งขึ้น นอกจากนี้ยังอาจพบอาการอื่นๆ เช่น อ่อนเพลีย ครั่นเนื้อครั่นตัว ปวดศีรษะ วิตกกังวล กระสับกระส่าย นอนไม่หลับ ชีพจรเต้นเร็ว เหงื่อออกมาก  ความดัน โลหิตสูงขึ้น ไปจนถึงประสาทหลอน แต่พบได้น้อย อาการในช่วงนี้อาจพบได้ 1-2 วัน และจะค่อยๆ ลดลงภายใน 5-7 วัน แต่อาการหงุดหงิดง่าย นอนไม่หลับ อาจพ...

ระวัง "โซเดียม" ใน "บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป" อาหารยอดฮิตช่วง Work From Home

นิตยสารฉลาดซื้อ พบบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปแบบถ้วยบางยี่ห้อมี โซเดียม ถึง 2,360 มิลลิกรัม ซึ่งเกินปริมาณที่องค์การอนามัยโลกแนะนำต่อวัน เสี่ยง ความดัน สูง โรคไต  โรคหัวใจ -หลอดเลือด และโรคกระดูกพรุน จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อ ไวรัสโคโรนา 2019  หรือ  โควิด -19 ( COVID -19)  ในประเทศไทย ที่มีผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นและแพร่กระจายอย่างรวดเร็ว รัฐบาลจึงออกประกาศนโยบายและมาตรการป้องกันเพื่อรับมือวิกฤตการณ์ดังกล่าว โดยขอความร่วมมือให้ประชาชนงดการเดินทาง งดการรวมกลุ่มกันเป็นจำนวนมาก ทำงานที่บ้าน และออกจากบ้านเท่าที่จะเป็น รวมทั้งออกพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน ทำให้มีประชาชนจำนวนไม่น้อยที่ตัดสินใจซื้ออาหารแห้งและวัตถุดิบในการทำอาหารไปเก็บไว้ที่บ้าน เพื่อจะไม่ต้องออกจากบ้านบ่อย รวมทั้งเก็บไว้บริโภคในสถานการณ์ฉุกเฉิน ซึ่งอาหารแห้งลำดับต้นๆ ที่ผู้บริโภคเลือกซื้อเป็นอาหารเพื่อการยังชีพคงหนีไม่พ้น บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป นิตยสารฉลาดซื้อ ภายใต้โครงการสนับสนุนการเฝ้าระวังสินค้าและบริการเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคด้าน สุขภาพ  จึงสุ่มเก็บตัวอย่างผลิตภัณฑ์บะหมี่กึ่งสำเร...

รู้หรือไม่ "นอนตะแคง" มีประโยชน์ต่อร่างกายมากกว่าที่คิด

ไม่ว่าใครต่างก็คงจะมีท่านอนประจำของตัวเอง ที่นอนเมื่อไหร่ เป็นต้องหลับไปทุกทีแน่ ๆ หลายคนชอบบอกว่า ท่านอนหงาย คือ ท่านอนที่ดีที่สุด เพราะถือว่าเป็นท่านอนพื้นฐานตามธรรมชาติ แต่คุณรู้หรือไม่ว่า ท่านอนตะแคง อาจจะมีประโยชน์ต่อร่างกาย มากกว่าที่หลายๆ คนคิด ถึงจะพูดว่า  ท่านอนตะแคง  แต่จริงๆ แล้ว ท่านอนตะแคงเองก็มีท่าพื้นฐานอยู่อีก 3 ท่า ดังนี้ นอนขดตัวเหมือนทารก คือการนอนขดตัว เอาเข่าขึ้นมาชิดกับหน้าอก แล้วกอดเข่าตัวเองไว้ คล้ายกับท่านอนของทารกในครรภ์ นอนตะแคงเปิดข้าง คือการนอนตะแคงโดยยืดขาตรง และยืดแขนออกไปทางด้านหน้า คล้ายกับว่ากำลังจะเอื้อมหาคนอื่น นอนตะแคงแบบขอนไม้ คือการนอนตะแคงโดยที่ยืดขาตรง และปล่อยแขนแนบลำตัวตรงทั้งสองข้าง อย่างไรก็ตาม ท่าเหล่านี้เป็นเพียงท่านอนพื้นฐานที่ไม่ตายตัวเท่านั้น บางคนอาจจะนอนหลายๆ ท่าสลับกันไป หรือบางคนอาจจะมีท่าอื่นมากกว่านี้ แต่ไม่ว่า คุณจะนอนตะแคงด้วยท่าแบบไหนก็มีประโยชน์ต่อ สุขภาพ ด้วยกันทั้งสิ้น ประโยชน์ สุขภาพ ดีๆ ที่ได้จาก ท่านอนตะแคง ช่วยบรรเทาอาการปวดหลัง ท่านอนตะแคง เป็นท่าที่มีประโยชน์ต่อแผ่นหลังของเรามากที่สุด ผู้ที่มี...

"เมล่อน" กับ 7 ประโยชน์ที่ได้มากกว่ารสอร่อยหวานฉ่ำ

รูปภาพ
เมล่อน  นับว่าเป็นอีกหนึ่งผลไม้ที่หลายคนชื่นชอบ ด้วยกลิ่นที่หอมหวาน และรสชาติที่หวานฉ่ำน้ำ ไม่แปลกใจเลยใช่ไหมล่ะคะว่า ทำไมเมล่อนจึงเป็นผลไม้ที่หลายคนนิยมบริโภคกันมากจนถึงปัจจุบันนี้ นอกจากรสชาติที่อร่อยถูกปากแล้ว ยังอุดมไปด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อ สุขภาพ ร่างกายอีกด้วย วันนี้ Hello คุณหมอ จะพาทุกคนไปรู้จักกับผลไม้ชนิดนี้ให้มากขึ้นกันค่ะ ทำความรู้จัก เมล่อน (Muskmelon) ผลไม้รสหวานฉ่ำประจำฤดูร้อน เมล่อน หรือ เมลอน (Muskmelon) เป็นพืชในตระกูล Cucurbitaceae มีถิ่นกำเนิดมาจากทวีปแอฟริกา มีหลักฐานบันทึกว่าชาวอียิปต์เคยปลูกแตง (คือ เมล่อน/แคนตาลูปในปัจจุบัน) เมื่อ 500 ปีที่แล้ว โดยพระเจ้าชาร์ลส ที่ 8 พระมหากษัตริย์ประเทศฝรั่งเศส (Charles VIII l’Affable) นำแตงมายังฝรั่งเศสและประเทศอื่นๆ ในทวีปยุโรป และตั้งชื่อผลไม้ชนิดนี้ว่า แคนตาลูป (Cantaloupe) โดยชื่อนี้นั้นมีที่มาจากเมืองหนึ่งในประเทศอิตาลี ที่มีชื่อว่า แคนตาลูโป้ (Cantalupo) ข้อมูล โภชนาการ เมล่อนเป็นผลไม้ที่อุดมไปด้วยเบต้าแคโรทีน วิตามินเอ โดยข้อมูล โภชนาการ ของเมล่อน 1 ถ้วย ปริมาณ 177 กรัม มีดังนี้ พลังงาน 64...

ห้ามใส่ “หน้ากากคลุมหน้า-หน้ากากอนามัย” ให้ “ทารก” เสี่ยงอันตรายต่อระบบประสาท

รูปภาพ
ชมรมเวชศาสตร์ทารกแรกเกิดแห่งประเทศไทย ประกาศเตือนสถานพยาบาล ห้ามใส่ face shield และหน้ากากอนามัยให้เด็กทารกแรกเกิด เสี่ยงภาวะ คาร์บอนไดออกไซด์คั่งได้ ในเด็กเล็กทารกแรกเกิดที่เพิ่งคลอดในช่วงที่มีการระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 หรือ  โควิด -19 ( COVID -19) อาจทำให้คุณพ่อคุณแม่เป็นกังวลว่าลูกน้อยจะเสี่ยงติดเชื้อไวรัสหรือไม่ เมื่อมีความจำเป็นต้องพาลูกน้อยออกมาข้างนอกบ้าน หรือโรงพยาบาล จึงอาจอยากป้องกันไวรัสให้ลูกด้วยการสวมหน้ากากอนามัย หรือหน้ากากคลุมหน้า หรือ Face Shield ให้ อย่างไรก็ตาม การสวมหน้ากากให้เด็กทารกแรกเกิด เป็นอันตรายต่อ สุขภาพ ของเด็กมากกว่าจะช่วยป้องกันไวรัส   ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นกับทารกในการใส่หน้ากากคลุมหน้า หรือหน้ากากอนามัย ชมรมเวชศาสตร์ทารกแรกเกิดแห่งประเทศไทย ประกาศเตือนว่า การสวมหน้ากากให้เด็กทารกแรกเกิด เป็นอันตรายต่อ สุขภาพ ของเด็ก ดังนี้ ทารกแรกเกิดหายใจทางจมูกเป็นหลัก ยังไม่มีความสามารถในการหายใจชดเชยด้วยการอ้าปากหายใจได้เมื่อมีการขาดอากาศ หรือ ออกซิเจน ดังนั้นวัสดุต่างๆ ที่นำมาผลิตเป็นหน้ากาก หากมีคุณสมบัติในการต้านต่อการไหลของอากาศ...