บทความ

"ผ้าเช็ดตัว" แหล่งสะสมเชื้อโรคใกล้ตัว ที่หลายคนมักจะมองข้าม

รูปภาพ
เมื่อเราอยากชะล้างความสกปรกที่ติดตัว เราก็สามารถทำได้ง่ายๆ ด้วยการอาบน้ำชำระคราบสิ่งสกปรกต่างๆ จนสะอาดเอี่ยมทั่วตัว ก่อนจะเช็ดตัวให้แห้งด้วย ผ้าเช็ดตัว  แต่หลายคนอาจจะไม่ทันได้ฉุกคิดว่า ผ้าเช็ดตัว อาจจะเป็นแหล่งสะสมเชื้อโรคใกล้ตัว ที่เราทุกคนมองข้าม และทำให้เชื้อโรคกลับมาสู่ร่างกายของเราที่คิดว่าสะอาดปลอดภัยแล้วก็เป็นได้ ผ้าเช็ดตัว แหล่งสะสมเชื้อโรคใกล้ตัว ผ้าเช็ดตัวเป็นไอเท็มสำคัญติดบ้านที่ไม่ว่าใครก็ต้องมี เราจะใช้ผ้าเช็ดตัวในการซับน้ำและความชื้นที่หลงเหลืออยู่จากการอาบน้ำชำระคราบสิ่งสกปรกต่างๆ แต่ผ้าเช็ดตัวนั้นไม่ได้ซึมซับเพียงแค่น้ำและความชื้น แต่ยังได้เซลล์ผิวหนังชั้นนอกที่ตายแล้ว และเชื้อแบคทีเรียที่ติดอยู่ที่ผิวหนังของเราไปด้วย เมื่อเชื้อแบคทีเรียนั้นได้เกาะอยู่กับผ้าที่มีความชื้นอย่างพอเหมาะอย่างผ้าเช็ดตัว ก็จะยิ่งสามารถบ่มเพาะเชื้อเพิ่มประชากร ให้กลายเป็นแหล่งสะสมเชื้อโรคไปได้ในที่สุด หรือบางคนอาจจะได้รับเชื้อไวรัสมาจากข้างนอก และมาติดอยู่ที่ผ้าเช็ดตัวในตอนที่เช็ดทำความสะอาดตัว ยิ่งไปกว่านั้น ความอับชื้นยังเป็นปัจจัยชั้นดีในการเจริญเติบโตของเชื้อราต่างๆ ดังนั้น ผ้าเช

วิธีลดเครียด-ลดเหงา เมื่อต้อง Work From Home นานๆ

ใครที่อายุไล่เลี่ยกันคงจะเคยได้ยินประโยคนี้ เพราะเป็นชื่อเพลงสากลเพราะๆ เพลงหนึ่งของ David Usher ศิลปินเชื้อสายอังกฤษ-ไทยที่โด่งดังช่วงยุค ‘90s-2000s แต่ในที่นี้เราไม่ได้พูดถึงเพลง แต่เป็นความรู้สึกเหงาราวกับตัวเองอยู่ในจักรวาลนี้อยู่ตัวคนเดียว และนี้อาจเป็นความรู้สึกของใครหลายคนที่กำลังประสบอยู่ในช่วงที่ต้อง  Work From Home , Social Distancing หรือกำลังกักตัว (Quarantine) อยู่ แต่คนที่เขา alone in the universe มีอยู่จริงๆ และนั่นคือนักบินอวกาศของนาซ่าที่ต้องทำงานท่ามกลางดวงดาวอยู่นอกโลกเป็นปีๆ พวกเขามีวิธีจัดการกับอารมณ์ว้าเหว่ของตัวเองที่ต้องอยู่คนเดียวนานๆ ขนาดนั้นโดยที่ สุขภาพ จิตไม่เสียได้อย่างไร มาดูเคล็ดลับที่เขาแนะนำผ่านคลิปของ QuickTake by Bloomberg กัน วิธีลดเครียด-ลดเหงา เมื่อต้องอยู่ตัวคนเดียวนานๆ ทำตัวให้ยุ่งตลอดเวลา เมื่อไรที่เราว่างๆ ไม่มีอะไรทำ เวลานั้นจะทำให้เรารู้สึกเหงา จมอยู่กับความรู้สึกโดดเดี่ยวของตัวเอง แนะนำว่าให้ทำตัวยุ่งตลอดเวลา หาอะไรมาทำเรื่อยๆ โดยสามารถวางแผนงานเอาไว้ทั้งวันเลยก็ได้ว่า ช่วงเช้าถึงบ่ายทำงาน ช่วงเย็นทำอาหาร หัวค่ำ ออกกำลังกาย  ดึ

ฉีดพ่นฆ่าเชื้อ "โควิด-19" บนร่างกาย-ถนน ป้องกันไวรัสได้จริงหรือ?

สมาคมโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทยชี้แจงเรื่อง การฉีดพ่นยาฆ่าเชื้อลงบนตัวบุคคลหรือสถานที่ เพื่อฆ่าเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ  โควิด -19 ( COVID -19) เอาไว้ดังนี้ ในขณะนี้ประเทศไทยมีผู้ป่วย โควิด-19  ต่อเนื่องกันมาเป็นระยะเวลานานพอสมควร ด้วยความกังวลเรื่องของการ ปนเปื้อนเชื้อในสถานที่สาธารณะต่างๆ และที่พักอาศัย ตลอดจนในร่างกายของผู้ป่วย จึงเกิดการปฏิบัติที่หลากหลายด้วย ความเข้าใจคลาดเคลื่อนว่าจะช่วยทำลายเชื้อ หรือลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ เช่น การฉีดพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อบนร่างกายของ บุคคลทั่วไป ทั้งในลักษณะของการสร้างอุโมงค์ให้เดินผ่านหรือเดินผ่านไปตามทางเดินปกติการฉีดพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อบนถนนหรือ สถานที่สาธารณะต่างๆ ตลอดจนภายในอาคารบ้านเรือนที่พักอาศัยหรือร้านค้า ทางสมาคมโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทย ขอเรียนชี้แจง ดังนี้ การฉีดพ่นทําลายเชื้อ โควิด-19  บนร่างกายของบุคคล  การฉีดพ่นทําลายเชื้อบนร่างกายของบุคคล ไม่ช่วยเพิ่มความปลอดภัยต่อการติดเชื้อ เนื่องจากหากบุคคลมีเชื้อไวรัสอยู่ เชื้อจะอยู่ที่ทางเดินหายใจ ซึ่งการพ่นยาฆ่าเชื้อในลักษณะดังกล่าว จะไม่สามารถทำลายเชื้อได้นอกจากนี้ยาฆ่าเชื้อยัง อาจจะเป็น

อันตรายจาก "ยาคลอโรควิน" รักษา "โควิด-19" ได้จริงหรือ?

ชื่อของยา “คลอโรควิน” เริ่มเป็นที่รู้จักมากขึ้น เมื่อปรากฏเป็นชื่อของยาที่แพทย์ใช้รักษาผู้ป่วย โควิด -19 จึงทำให้บางคนตามหายาตัวนี้มารับประทานเอง ด้วยเชื่อว่าจะช่วยรักษา และป้องกัน โควิด-19  ได้ด้วยตัวเอง แต่จริงๆ แล้วยาคลอโรควินสามารถหาซื้อมากินเองได้หรือไม่ แล้วสามารถรักษา หรือป้องกัน โควิด-19  ได้จริงหรือเปล่า  มีคำตอบจาก ผศ.นพ.พิสนธิ์ จงตระกูล โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย มาฝาก ยาคลอโรควิน คืออะไร? ยาคลอโรควิน เป็นยาที่ใช้รักษาโรคต่างๆ หลายโรค เช่น การป้องกัน และรักษาโรคมาลาเรีย การรักษาโรคติดเชื้ออะมีบา หรือการรักษาโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ ซึ่งในปัจจุบันแพทย์ได้นำมาทดลองใช้รักษาโรค โควิด -19 โดยใช้ร่วมกับยาอื่นอีกหลายชนิด ยาคลอโรควิน รักษา โควิด-19  ได้จริงหรือไม่? ยาคลอโรควิน รวมถึงยาไฮดรอกซีคลอโรควิน เป็นยาที่แพทย์นำมาทดลองใช้รักษาโรคโควิด-19 การใช้ยาดังกล่าวแพทย์จะใช้ร่วมกับยาอื่นเสมอ เช่น ยาต้านไวรัสเอชไอวี ยาฟาวิพิราเวียร์ ซึ่งการใช้ยาเหล่านี้ต้องอยู่ในการดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด เนื่องจากมีอันตรายร้ายแรงที่อาจทำให้พิการ หรือเสียชีวิตได้ ยาคลอโรควิน ป้องกันโควิด-19

"เด็ก" อายุเท่าไรถึงควรใส่ "หน้ากากอนามัย-หน้ากากผ้า" ป้องกัน "โควิด-19"

ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคระบาดของสหรัฐอเมริกา (CDC) ให้คำแนะนำในการให้เด็กเล็กใส่หน้ากากผ้า-หน้ากากอนามัย เพื่อป้องกันเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ  โควิด -19 ( COVID -19) ถึงช่วงอายุที่เหมาะสม และไม่เหมาะสมในการใส่หน้ากาก รวมถึงวิธีลดความเสี่ยงในเด็กเล็กเกินไปที่ไม่สามารถสวมหน้ากากอนามัยได้ เด็กอายุเท่าไร ถึงสามารถใส่หน้ากากได้ ไม่ว่าจะเป็นหน้ากากผ้า และหน้ากากอนามัย มีคำแนะนำว่าไม่ควรสวมให้กับเด็กแรกเกิด เพราะทารกแรกเกิดหายใจทางจมูกเป็นหลัก ยังไม่มีความสามารถในการหายใจชดเชยด้วยการอ้าปากหายใจได้เมื่อมีการขาดอากาศ หรือ ออกซิเจน ดังนั้นวัสดุต่างๆ ที่นำมาผลิตเป็นหน้ากาก หากมีคุณสมบัติในการต้านต่อการไหลของอากาศเข้า-ออกสูงเกินไป อาจทำให้ทารกหายใจได้ไม่เพียงพอ และมีโอกาสเกิดการสะสมของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ เกิดอันตรายต่อระบบประสาทของทารกได้ เด็กที่เริ่มสามารถใส่หน้ากากได้ เริ่มที่อายุ 2 ขวบขึ้นไป นอกจากจะสามารถหายใจทางปากได้เองแล้ว ยังสามารถดึงหน้ากากออกจากหน้าเองได้ด้วย จึงปลอดภัยในการสวมใส่มากกว่า ในกรณีที่หน้ากากไม่พอดีหน้า หรือปิดจมูกปิดปากมากเกินไป หน้ากากสำหรับเด็ก แ

แพทย์ย้ำ "เครื่องดื่มแอลกอฮอล์" ฆ่าเชื้อ ”โควิด-19″ ไม่ได้

แพทย์ย้ำการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ไม่สามารถฆ่าเชื้อ โควิด -19 อีกทั้งยังมีอันตรายถึงขั้นเสียชีวิต นายแพทย์สรายุทธ์ บุญชัยพานิชวัฒนา ผู้อำนวยการสถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี กล่าวว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อ ไวรัสโคโรนา 2019  หรือ   โควิด-19  ( COVID -19)  ทำให้ประชาชนหวาดกลัวและพยายามหาวิธีการป้องกันตนเองจากการติดเชื้อ ไม่ว่าจะเป็นการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การดื่มแอลกอฮอล์บริสุทธิ์ หรือเอทิลแอลกอฮอล์ ซึ่งเป็นเป็นความเชื่อที่ไม่ถูกต้องและอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้ โดยเอทิลแอลกอฮอล์ หรือเอทานอล (Ethyl Alcohol หรือ Ethanol) เป็นแอลกอฮอล์บริสุทธิ์ 95% ผลิตจากพืชประเภทน้ำตาลและพืชจำพวกแป้งเช่นเดียวกันกับแอลกอฮอล์ที่ผสมในเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ถึงแม้จะเป็นชนิดของแอลกอฮอล์ที่สามารถรับประทานได้ แต่ด้วยความเข้มข้นที่สูงกว่าในเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทั่วไป ทำให้ผู้ดื่มมีภาวะแอลกอฮอล์เป็นพิษและในบางรายรุนแรงอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ จึงเหมาะสำหรับทำความสะอาด เช็ด ถู เพื่อฆ่าเชื้อ เอทานอลสำหรับล้างแผล-ในเจลล้างมือ กินไม่ได้ เอทานอลสำหรับล้างแผล เจลล้าง

จิตแพทย์แนะวิธีลดเครียดช่วง "โควิด-19" ระบาด ไม่ให้ป่วยทั้งกายและใจ

ท่ามกลางสถานการณ์ โควิด -19 ทั้งแพทย์ พยาบาล บุคลากรทางการแพทย์ ผู้ป่วย และประชาชนทุกคนล้วนมีความเครียดและความกังวลใจ มาดูสักนิดว่า เราจะช่วยกันรับมือ ดูแลจิตใจ และผ่านวิกฤตินี้ไปด้วยกันได้อย่างไร การจัดการความเครียดเพื่อรับมือ โควิด-19  อย่างถูกวิธีที่จิตแพทย์อยากแนะนำ  แพทย์หญิงอภิสมัย ศรีรังสรรค์ ผู้อำนวยการศูนย์จิตรักษ์​ โรงพยาบาลกรุงเทพ กล่าวว่าความเครียดเป็นกลไกโดยธรรมชาติที่ช่วยให้มนุษย์เตรียมตัววางแผนและรับมือกับสถานการณ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพการที่เรารู้สึกเครียดกลัว วิตกกังวล เป็นสิ่งที่ดี เพราะเราจะได้ขวนขวายหาความรู้ หาข้อมูลมาประกอบการตัดสินใจ ให้มีการวางแผนและเตรียมการ รับมือกับโรคระบาดที่เกิดขึ้น ลองสังเกตอาการของตัวเองในสถานการณ์ โควิด-19  CDC สหรัฐฯ แนะนำให้สังเกตอาการ ว่ามีดังต่อไปนี้หรือไม่ อาทิ อารมณ์แปรปรวน กลัว เครียด กังวล หงุดหงิดง่าย นอนไม่หลับหรือหลับไม่สนิทฝันร้ายต่อเนื่องเรื้อรัง พฤติกรรมการกินผิดปกติ บางรายกินไม่ลง บางรายกินมากผิดปกติ รู้สึกไม่กระปรี้กระเปร่า ไม่สดชื่น เฉื่อยชาเบื่อ ไม่อยากทำอะไร สมาธิจดจ่อไม่ดี หลงๆ ลืมๆ ทำงานบกพร่อง สูญเสียการตัด