บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก พฤศจิกายน, 2019

เคล็ดลับลดน้ำหนักได้ง่ายขึ้น แค่กินอาหารให้ช้าลง

รูปภาพ
ด้วยไลฟ์สไตล์ที่เร่งรีบในยุคสมัยปัจจุบัน หลายคนก็มักจะมีพฤติกรรมในการกินอาหารที่เร่งรีบตามไปด้วย ซึ่งการกินเร็วนั้น ถือเป็นภัยต่อร่างกายทางอ้อม เพราะจะส่งผลต่อน้ำหนักตัว และทำให้เป็นโรคอ้วนได้ ดังนั้นวันนี้เราจึงจะมาช่วยเปลี่ยนพฤติกรรมการกินอาหารของคุณใหม่ด้วย 4 วิธีช่วยทำให้กินช้าลง ทางลัดที่จะช่วยคุณ ลดน้ำหนัก ได้ มาดูกันดีกว่าว่ามีวิธีการกินอย่างไรที่จะได้ประโยชน์ต่อ สุขภาพ กันบ้าง 1.ไม่กินอาหารขณะดูทีวีหรือเล่นมือถือ การกินอาหารขณะดูทีวีหรือเล่นมือถือนั้น จะทำให้คุณขาดสมาธิในการกิน ส่งผลทำให้กินเร็วในปริมาณที่มากขึ้น ซึ่งพฤติกรรมนี้จะส่งผลทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นได้ ดังนั้นควรกินอาหารให้เสร็จก่อน แล้วค่อยทำกิจกรรมอย่างอื่น เพราะในช่วงเวลาที่ทำกิจกรรมต่างๆ นั้น ร่างกายก็จะเริ่มต้นกระบวนการย่อยอาหารได้อย่างเหมาะสมด้วย 2.เคี้ยวอาหารให้ละเอียด ถือเป็นพฤติกรรมที่ทุกคนควรทำให้เกิดความเคยชิน เพราะการเคี้ยวอาหารให้ละเอียดจะช่วยให้ร่างกายย่อยอาหารอย่างถูกวิธี โดยไม่ดึงเอาแบคทีเรียมาเป็นตัวย่อยสลาย ซึ่งจะสามารถป้องกันโรคกระเพาะอาหารหรือท้องผูกได้ อีกทั้งการเคี้ยวอาหารให้ละเอียดก็ยัง...

รักสนุกต้องระวัง! โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ภัยใกล้ตัวที่รับมือได้

รูปภาพ
ปัจจุบันมีผู้ป่วยที่เป็น โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ มากขึ้นในแต่ละปี ซึ่งโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ก็มีหลายโรคและส่วนมากเกิดจากการมีเพศสัมพันธ์ด้วยกันทั้งสิ้น วันนี้เราจะพาคุณมาทำความเข้าใจถึงสาเหตุและอาการต่างๆ ที่บ่งบอกว่าเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ คืออะไร โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (STD) หรือที่เรียกกันว่า กามโรค เป็นโรคที่สามารถติดต่อได้จากการมีเพศสัมพันธ์ทั้งทางช่องคลอด ทางรูทวาร และทางปาก เป็นต้น ส่วนใหญ่มักเกิดในวัยรุ่นซึ่งเป็นวัยเริ่มต้นและมีความอยากรู้อยากลองในเรื่องเพศสัมพันธ์เหล่านี้ โดยไม่ได้คำนึงถึงความปลอดภัยและโรคร้ายต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นตามมา โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์บางโรคเมื่อเป็นแล้วมักไม่แสดงอาการทำให้หลาย ๆ คนมักไม่รู้ตัวว่ากำลังเป็น ส่วนมากมักแสดงอาการเมื่ออยู่ในขั้นที่รุนแรงและรักษาได้หายขาดยาก สาเหตุของโรค โรคทางเพศสัมพันธ์ส่วนมากมักเกิดจากเชื้อไวรัสต่าง ๆ หลายชนิด บางชนิดสามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่บางชนิดก็ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่เกิดจากเชื้อไวรัส ได้แก่ โรคเริม ไวรัสตับอักเสบบี และหูดหงอนไก่ เป็นต้น ซึ่งเชื...

รวมคำศัพท์น่ารู้ของญี่ปุ่น ภาคอดีต

รูปภาพ
ศัพท์ญี่ปุ่น น่ารู้ 10 คำ ที่น่ารู้ไม่ยากไม่ง่ายเกินไป รอบนี้จะเป็นคำเก่าแก่ที่เกิดตั้งแต่สมัยก่อน แต่ยังมีบทบาทต่อวัฒนธรรมและการใช้ชีวิตของคนญี่ปุ่นจนถึงปัจจุบัน และยังมีประโยชน์กับนักท่องเที่ยวอีกด้วย รู้จักกี่คำเอ่ย ยามาโตะ (Yamato) 大和 (やまと) ความหมาย = ยามาโตะ (คำเรียกญี่ปุ่นเองในสมัยก่อน) สำหรับคำว่ายามาโตะเป็นคำเท่ๆที่หลายๆท่านอาจรู้จัก ทั้งจากชื่อเรือรบประจัญบานยามาโตะ หรือแม้แต่จากการ์ตูนและสื่ออื่นๆ จริงๆแล้วคำว่ายามาโตะเป็นคำที่คนญี่ปุ่นใช้เรียกประเทศของตนเองในสมัยก่อนโดยมีที่มาจากการติดต่อกับชาวจีนหรือเกาหลี โดยเชื่อกันว่าคำนี้เกิดขึ้นตั้งแต่ช่วงสมัยอะสุกะ หรือราวๆปี ค.ศ.538-710 ก่อนหน้าสมัยนาระ ซึ่งเป็นยุคที่เริ่มติดต่อกับประเทศจีน เริ่มใช้ก่อนหน้าคำว่า Nippon นิปปงหรือนิฮงอีกค่ะ ซึ่งแท้จริงแล้วคำนี้เป็นเสียงอ่านแบบพิเศษและไม่สามารถอ่านว่ายามาโตะได้ ก่อนหน้านี้ทางจีนจะใช้คันจิ “倭” ในการเรียกคนญี่ปุ่น (อ่านว่า Wa) ซึ่งในมุมมองคนญี่ปุ่นสมัยนั้นมองว่าอักษรคันจิตัวไม่ได้มีความหมายที่ดีนัก จึงนำเสียงอ่านคำว่า “Wa” มาหาตัวอักษรคันจิที่มีเสียงพ้องกัน โดยคนญี่ปุ่นได้เลือก 和...

พบเบาะแส! ดวงจันทร์นอกระบบสุริยะ เป็นดาวเคราะห์แก๊ส ห่างจากโลกเพียง 550 ปีแสง

รูปภาพ
ปัจจุบัน นัก ดารา ศาสตร์ตรวจพบ ดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะ แล้วกว่า 4,000 ดวง ความท้าทายต่อไป คือการเก็บข้อมูลให้ละเอียดมากพอจนสามารถยืนยันได้ว่าดาวเคราะห์นอกระบบเหล่านั้นมีดวงจันทร์บริวารอยู่หรือไม่ เมื่อไม่นานมานี้ พวกเขาพบร่องรอยการมีอยู่ของดวงจันทร์ที่โคจรรอบดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะ WASP 49-b ซึ่งเป็นดาวเคราะห์แก๊ส ห่างจากโลกเพียง 550 ปีแสง ดวงจันทร์ดวงนี้ ถูกจัดให้อยู่ในประเภทซูเปอร์เอิร์ธร้อน (Hot super-Earth) เนื่องจากพื้นผิวส่วนใหญ่ปกคลุมไปด้วยลาวา และมีการปะทุของภูเขาไฟอย่างต่อเนื่องคล้ายดวงจันทร์ไอโอของดาวพฤหัสบดี การตรวจจับดวงจันทร์นอกระบบสุริยะโดยตรงทำได้ยากมาก เนื่องจากดวงจันทร์มีขนาดเล็ก นัก ดารา ศาสตร์จึงพยายามแสวงหาวิธีอื่นเพื่อค้นหา เมื่อทศวรรษที่ผ่านมา พวกเขาค้นพบว่าแก๊สโซเดียมและโพแทสเซียมสามารถใช้ระบุลักษณะทางธรณีวิทยาของดวงจันทร์ที่มีการปะทุของภูเขาไฟอยู่เสมอ หรือใช้ระบุว่าดาวเคราะห์ดวงใดมีวงแหวนได้ นักดาราศาสตร์ จึงใช้วิธีข้างต้นศึกษาดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะ WASP 49-b และพบว่าดาวดวงนี้มีแก๊สโซเดียมมากผิดปกติ แก๊สดังกล่าวอยู่ห่างไกลเกินกว่าจะเป็นแก๊สที่ปลดปล่...

พบโมเลกุล “น้ำ” บนดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะที่เอื้อต่อสิ่งมีชีวิตได้เป็นครั้งแรก

รูปภาพ
นัก ดารา ศาสตร์ตรวจพบ โมเลกุล  #น้ำ ในชั้นบรรยากาศบนดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะ “K2-18b” ซึ่งเป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ในเขตที่เอื้อต่อการอยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิต   นับเป็นดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะดวงแรกที่มีทั้งน้ำและอุณหภูมิที่เหมาะสมสำหรับสิ่งมีชีวิต งานวิจัยครั้งนี้นำทีมโดย ดร.อังเยลอส ทซีอารัส (Dr. Angelos Tsiaras) จาก มหาวิทยาลัย คอลเลจลอนดอน ศึกษาชั้นบรรยากาศของดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะ ที่กำลังโคจรรอบดาวฤกษ์แม่ในระยะห่างที่ทำให้น้ำอยู่ในสถานะของเหลว และได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร Nature Astronomy มวลมากกว่าโลก 8 เท่า ห่างออกไป 110 ปีแสง K2-18b ถูกค้นพบเมื่อปี พ.ศ. 2558 โดยกล้องโทรทรรศน์อวกาศเคปเลอร์ เป็นดาวเคราะห์ที่มีมวลมากกว่าโลก 8 เท่า จัดอยู่ในประเภทดาวเคราะห์ซูเปอร์เอิร์ธ (Super-Earth) โคจรรอบดาวแคระแดง ชื่อว่า “K2-18” ด้วยคาบ 33 วัน ซึ่งดาวเคราะห์มีระยะห่างจากดาวฤกษ์แม่ในตำแหน่งที่ทำให้น้ำอยู่ในสถานะของเหลวได้ เรียกว่า “เขตที่เอื้อต่อการอยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิต (Habitable zone)” มีน้ำในชั้นบรรยากาศ การศึกษาครั้งนี้นำข้อมูลที่เคยบันทึกไว้เมื่อปี พ.ศ. 2559 - 2560 โ...

พบดาวหางดวงใหม่! คาดเป็นวัตถุนอกระบบสุริยะดวงที่สอง

รูปภาพ
“C/2019 Q4 (Borisov)” ดาวหางดวงใหม่เพิ่งถูกค้นพบ กำลังได้รับความสนใจอย่างมากในวงการ ดารา ศาสตร์ เพราะอาจเป็นวัตถุที่มาจากนอกระบบสุริยะลำดับถัดจาก โอมูอามูอา (Oumuamua) ซึ่งปัจจุบันเป็นวัตถุนอกระบบสุริยะหนึ่งเดียวที่เรารู้จัก เกนนาดี โบรีซอฟ (Gennady Borisov) นัก ดารา ศาสตร์สมัครเล่นชาวยูเครน ค้นพบดาวหาง C/2019 Q4 เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2562 ที่หอดูดาวไครเมีย (Crimean Astrophysical Observatory) ซึ่งขณะนั้นดาวหางอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ 3 หน่วย ดารา ศาสตร์ กำลังเคลื่อนที่เข้าหาดวงอาทิตย์ และจะเข้าใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุด ในวันที่ 8 ธันวาคม 2562 ที่ระยะห่าง 300 ล้านกิโลเมตร   สิ่งที่ทำให้นัก ดารา ศาสตร์ทราบว่าวัตถุใดมาจากนอกระบบสุริยะ คือ ค่าความรีของวงโคจร (eccentricity) ความรีใช้สำหรับบอกว่าวงโคจรมีรูปร่างใกล้เคียงกับวงกลมแค่ไหน กล่าวคือ ค่าความรีเท่ากับ 0 วงโคจรจะเป็นวงกลม ค่าความรีมากกว่า 0 แต่น้อยกว่า 1 จะเป็นวงรี ค่าความรีเท่ากับ 1 เป็นพาราโบลา และค่าความรีมากกว่า 1 เป็นไฮเพอร์โบลา C/2019 Q4 มีความรีอยู่ที่ 3.2 รูปร่างวงโคจรไม่เหมือนกับบริวารของดวงอาทิตย์ แต่เหมือนกับบริ...

4 โรคตาอันตราย ที่เสี่ยงได้ทุกเพศทุกวัย

รูปภาพ
สุขภาพ กายเสื่อม ยังมีสัญญาณเตือน แต่ สุขภาพตา นี่สิไม่มีสัญญาณเตือนใด ๆ เลย แล้วจะแน่ใจได้อย่างไรว่าดวงตาเราจะไม่เป็นอะไร เพราะรู้ได้ก็ต่อเมื่อมีปัญหาแล้ว โรคทางตาบางโรคไม่แสดงอาการให้เห็นจนกว่าจะอยู่ในขั้นที่รุนแรง ซึ่งอาจไม่สามารถรักษาให้เป็นปกติได้ กว่าจะรู้ ก็เข้าขั้นสายเกินไป ปัญหานี้จะแก้ไขได้อย่างไร พญ.ปัจฉิมา จันทเรนทร์ จักษุแพทย์ TRSC ศูนย์เลสิคนานาชาติ จะเป็นผู้ให้คำตอบค่ะ เราจะรู้ได้อย่างไรว่าดวงตาเรากำลังมีปัญหา การตรวจ สุขภาพ ตาเป็นประจำทุกปีสามารถให้คำตอบได้ ฉะนั้นการตรวจสุขภาพตาจึงมีความสำคัญมาก เพื่อเป็นการเฝ้าระวังโรคทางตาที่อาจจะเกิดขึ้น หรือวางแผนการรักษาโรคตาบางโรคที่กำลังเป็นอยู่ได้ ซึ่งโรคทางตาที่พบบ่อยมีดังนี้ โรคน้ำวุ้นในตาเสื่อม ธรรมชาติเมื่อเราอายุมากขึ้น น้ำวุ้นตาจะเกิดการละลายกลายเป็นน้ำ บางส่วนอาจจับตัวกันเป็นตะกอน เมื่อแสงส่องผ่านเข้ามาในลูกตากระทบตะกอนนี้จะเกิดเงาบนจอประสาทตา  ทำให้เราเห็นคล้ายมีจุด หรือคล้ายแมลงบินไปมา และขยับได้ตามการกลอกตาของเรา   ซึ่งภาวะนี้มักไม่มีอันตรายหากไม่มีจอประสาทตาฉีกขาด แต่จะเกิดความรำคาญใจ...

"ทอนซิลอักเสบ" ปัญหาเรื้อรังที่สามารถจัดการได้ด้วยการ "ผ่าตัด"

รูปภาพ
ต่อมทอนซิล คือต่อมน้ำเหลือง 2 ต่อมคู่ข้างซ้ายและขวาในลำคอที่อยู่ด้านข้างใกล้กับโคนลิ้น มีหน้าที่หลักในการจับและทำลายเชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกายผ่านทางเดินอาหาร ต่อมทอนซิลอักเสบ  (Tonsillitis) เกิดจากการอักเสบติดเชื้อของทอนซิล พบมากในเด็กจากการติดเชื้อไวรัส ติดต่อกันได้ง่าย เนื่องจากไม่รู้จักป้องกัน ส่วนในเด็กโตและผู้ใหญ่อายุก่อน 20 ปี มักจะเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ส่วนใหญ่มักไม่พบในผู้ป่วยวัยกลางคนไปแล้ว แม้ต่อมทอนซิลอักเสบเป็นโรคที่ไม่ร้ายแรง แต่รบกวนการใช้ชีวิตในชีวิตประจำวัน การศึกษาข้อมูลที่ถูกต้องจะช่วยป้องกันเราและสมาชิกในครอบครัวให้ห่างจากโรคนี้ โดยเฉพาะประเทศร้อนชื้นที่ผู้คนรอบตัวเป็นหวัดและไม่สบายจำนวนมาก  รู้จักโรคต่อมทอนซิลอักเสบให้ถูกต้อง โรคต่อมทอนซิลอักเสบสามารถติดต่อกันได้ทางระบบหายใจและการสัมผัสเชื้อโรคจากผู้ป่วย เช่น ลมหายใจ การไอ การจาม การสัมผัสสารคัดหลั่งน้ำมูกหรือน้ำลาย และการใช้สิ่งของร่วมกันหรือดื่มน้ำร่วมกัน เช่น ช้อน แก้วน้ำ และผ้าเช็ดหน้า เป็นต้น อาการของโรคต่อมทอนซิลอักเสบ ผู้ป่วยทอนซิลอักเสบ จะมีอาการเจ็บคอ เป็นไข้ กลืนลําบาก คนไข้เ...

หลักฐานว่าด้วยการเสียกรุงครั้งที่ 2 ของกรุงศรีอยุธยา

รูปภาพ
เป็นประเด็นถกเถียงกันมาตลอดกับ ประวัติศาสตร์ ไทยที่มักจะเขียนไม่ตรงกัน สอนไม่ตรงกัน หรือเราที่เขียนไม่ตรงกับชาว บ้าน  กรุงศรีอยุธยาแตกได้ยังไง? พม่าทำลายอะไรของเราไปบ้าง? เราทำลายอะไรไปบ้าง? ใครเป็นคนเผาเมืองกันแน่? ใครดี ใครเลว ใครดำ ใครขาว? การทำศึกสงครามในยุคสมัยกรุงศรีอยุธยาถือว่ามีสงครามน้อยใหญ่อยู่ตลอดเวลา แต่สงครามที่ทำให้ บ้าน เมืองเกิดความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่มีอยู่สองครั้ง นั่นคือ การเสียกรุงครั้งที่ 1 ในสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิแห่งราชวงศ์สุพรรณภูมิ (ซึ่งถือเป็นยุคที่ถูกนำมาผลิตซ้ำผ่านสื่อต่าง ๆ มากที่สุดยุคหนึ่ง เนื่องจากเป็นการเสียกรุงก่อนที่พระนเรศวรมหาราชจะสามารถนำกำลังพลกู้เอกราชคืนแก่กรุงศรีอยุธยาได้ และแผ่ขยายอำนาจอย่างยิ่งใหญ่) และการเสียกรุงครั้งที่ 2 ในสมัยพระเจ้าเอกทัศแห่งราชวงศ์บ้านพลูหลวง ที่ทำให้เกิดความเสียหายหนักหน่วง จนเมื่อพระเจ้าตากสินมหาราชสามารถกู้เอกราชขับไล่พม่าออกจากการยึดพื้นที่หัวเมืองต่าง ๆ ได้แล้วก็ตั้งกรุงธนบุรีเป็นราชธานีแทน และในการเสียกรุงครั้งที่ 2 ก็กลับมาเป็นที่ถกเถียงกันอีกครั้ง ว่าสุดท้ายแล้วใครกันที่เผากรุงศรีอยุธยา? ใช่พม่าทั้งห...